Warning: Expiry date cannot have a year greater then 9999 in /web/home/acnews/html/include/header.php on line 46
ACN :: Asia Community News
Now Loading...
  • 언어
  • 더보기
    • 아프리칸스어
    • 알바니아어
    • 아랍어
    • 벵골어
    • 불가리어
    • 카탈로니아어
    • 체코어
    • 덴마크어
    • 영어
    • 핀란드어
    • 프랑스어
    • 독일어
    • 힌디어
    • 헝가리어
    • 아이슬란드어
    • 이탈리아어
    • 크메르
    • 라오어
    • 말레이시아어
    • 몽골어
    • 미얀마
    • 네팔어
    • 네덜란드어
    • 노르웨이어
    • 페르시아어
    • 폴란드어
    • 포르투갈어
    • 루마니아어
    • 슬로바키아어
    • 스웨덴어
    • 터키어
    • 우르두어
    • 우즈베크어
  • 전체
  • 한국어
  • 중국어
  • 인도네시아어
  • 일본어
  • 스페인어
  • 베트남어
  • 우크라이나어
  • 타갈로그어
  • 러시아어
  • 태국어
Write

Detail Post

Your translation is a powerful force that connects us all.

  • 세부 게시물

번역 게시물: 총 1

번역

    • Th
  • Sokoy.elf

  • google Translate
  • 프로필이미지
  • 작성자 Sokoy.elf
    • Th
  • July 18, 2014 22:24  |   태국
  • Translated by Sokoy.elfThai
  • ผลสำรวจเนื่องในวันความสุขสากล พบ "ประเทศไทย" มีความสุขอยู่ในลำดับที่ 36 ของโลก เป็นอันดับที่ 2 ในอาเซียน คนไทยมีคะแนนความสุขในครอบครัวเฉลี่ย 7.17 คะแนน จากเต็ม 9 คะแนน จังหวัดยโสธรครองแชมป์สุขสูงที่สุด...

    เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 57 นายแพทย์ณรงค์  สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในวันที่ 20 มีนาคมทุกปี องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น (UN) ได้ประกาศให้เป็นวันความสุขสากล (The International Day of Happiness) เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา เพื่อเชิญชวนประเทศสมาชิกทั่วโลก ให้ความสำคัญกับความสุข ในฐานะที่เป็นเป้าหมายพื้นฐานของชีวิต และได้เสนอให้กำหนดเรื่องของความสุข เป็นวัตถุประสงค์สำคัญของนโยบายสาธารณะด้านต่างๆ และยังได้เสนอให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นไปเพื่อความผาสุกของประชาชนโดยรวม ก่อให้เกิดความเป็นธรรมและพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตทางสังคมอีกด้วย

    องค์การสหประชาชาติ ได้สำรวจระดับความสุขใน 156 ประเทศทั่วโลก ในปี 2553- 2555 พบว่า ประเทศที่มีความสุขอันดับ 1 ในโลก คือ เดนมาร์ก ส่วนไทยอยู่ในลำดับที่ 36 ของโลก และอยู่ในอันดับที่ 2 ในอาเซียน รองจาก สิงคโปร์ ที่อยู่ในอันดับที่ 30 ระบุ ว่า ปัจจัยความสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก ได้แก่ รายได้ การมีงานทำ ความสัมพันธ์ที่ดีและความไว้วางใจกันในชุมชน มีค่านิยมที่เอื้อต่อความสุขและศาสนา สุขภาพกาย สุขภาพจิต ความสัมพันธ์ในครอบครัว การศึกษา และความเท่าเทียมทางเพศและสังคม ส่วนปัจจัยความสุขที่สำคัญในระดับบุคคลได้แก่ การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีความมั่นคงในอาชีพการงานและครอบครัว 

    นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับกรมสุขภาพจิต ล่าสุดในปี 2555 พบว่าคนไทยทั่วประเทศอายุ 15 ปีขึ้นไป มีคะแนนความสุขในชีวิต ซึ่งหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญคือความสุขในครอบครัว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7.17 คะแนน จากคะแนนเต็ม 9 คะแนน จังหวัดที่มีคะแนนความสุขในครอบครัวมาก 10 อันดับแรกได้แก่ 1. ยโสธร ได้ 8.35 คะแนน 2. สุรินทร์ 8.03 คะแนน 3. ตรัง 7.97 คะแนน 4. นครพนม 7.96 คะแนน 5. ปทุมธานี 7.85 คะแนน 6. ยะลา 7.83  คะแนน 7. เพชรบูรณ์ 7.77 คะแนน 8. น่าน 7.77 คะแนน 9. พิจิตร 7.75 คะแนน และ 10. ชัยภูมิ 7.75 คะแนน ส่วนจังหวัดที่มีคะแนนน้อย 3 จังหวัด ได้แก่สมุทรสงคราม 5.39 คะแนน ปัตตานี 6.06 คะแนน สระแก้ว 6.10 คะแนน

    นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งให้คนไทยมีความสุข ได้แก่ ครอบครัวมีเวลาให้กันอย่างเพียงพอ มีสุขภาพดี ออกกำลังกายประจำ ปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา การทำสมาธิ มีรายได้ดี การงานมั่นคง ไม่มีหนี้สินนอกระบบ เกษตรกรมีที่ดินทำกิน กระทรวงสาธารณสุขจึงเร่งพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในรูปเขตบริการสุขภาพ มีทั้งหมด 12 เขต เพื่อดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง รวดเร็ว และเท่าเทียม เชื่อมโยงตั้งแต่สถานพยาบาลขนาดเล็กจนถึงระดับเชี่ยวชาญ เสมือนเป็นโรงพยาบาลเดียวกัน ขณะนี้ก้าวสู่ปีที่ 2 จะสมบูรณ์แบบในปี 2559 ตั้งเป้าอีก 10ปี คนไทยจะมีอายุยืนเฉลี่ย 80 ปี และอยู่อย่างมีสุขภาพดีจนถึงอายุ 72 ปี    

    ทางด้านนายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การมีความสุขในชีวิต สะท้อนได้จากการมีความสุขในครอบครัว โดยดูจาก 3 ปัจจัยได้แก่ 1. การดูแลของครอบครัวเมื่อสมาชิกป่วยหนัก 2. ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยเมื่ออยู่ภายในบ้าน และ 3 ครอบครัวมีความรักความผูกพันอันดีต่อกัน    

    ทั้งนี้ วิธีสร้างสุขสำหรับประชาชนทั่วไป สามารถทำได้ง่ายๆ 10 ประการดังนี้

    1. ออกกำลังกายวันละ 30 นาทีอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เนื่องจากร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุขออกมา ทำให้นอนหลับดี รู้สึกสมองปลอดโปร่งหลังตื่นนอน

    2. ก่อนเข้านอนทุกคืน ลองทบทวนสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตด้วยความรู้สึกขอบคุณอย่างน้อย 5 เรื่องต่อวัน

    3. ให้เวลาพูดคุยรับฟังคู่ครอง เพื่อนสนิท อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ในทุกๆ สัปดาห์ โดยไม่มีใครเข้ามาขัดจังหวะหรือรบกวน

    4. ปลูกต้นไม้ ต้นเล็กๆ ตั้งบนโต๊ะ หรือในกระถางก็ได้ แล้วดูแลรักษาให้ดี

    5. ลดเวลาดูทีวีลงครึ่งหนึ่ง

    6. ยิ้มและทักทายคนที่ไม่รู้จักอย่างน้อยวันละครั้ง

    7. หาโอกาสพูดคุยกับเพื่อนฝูงที่ห่างกันไปลองนัดหมายเพื่อพบเจอกันบ้าง

    8. หัวเราะให้มากและนานพอทุกๆ วัน

    9. ใส่ใจดูแลตนเองในทุกๆ วันใช้เวลาลองทำบางสิ่งที่สร้างความเพลิดเพลินให้กับตัวเอง

    10. ลองฝึกเป็นผู้ให้ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความใส่ใจมองสิ่งดีๆ ให้คนอื่นบ้าง

    "ขอแนะนำว่า ผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงาน ควรจัดเตรียมต้นทุนด้านสุขภาพ การเงิน สายสัมพันธ์ในครอบครัวให้ดี เนื่องจากจะมีผลต่อความสุขในระยะยาวของชีวิต และหากมีผู้สูงอายุในบ้าน ควรให้ท่านได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จะสร้างสายสัมพันธ์และความรู้สึกมีคุณค่า นอกจากนี้ การศึกษาและปฏิบัติธรรมนับเป็นปัจจัยความสุขสำคัญของผู้สูงอายุ ที่ควรเข้าถึงตั้งแต่ในวัยทำงานด้วยเช่นกัน ซึ่งกรมสุขภาพจิต ได้สนับสนุนชมรมผู้สูงอายุที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้มีกิจกรรมความสุขและปรับพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อเติมความสุขให้กับประชากรกลุ่มสำคัญนี้" นายแพทย์เจษฎา กล่าว.

Send

0 Comment

2014.07.18
위로 이동